Check List ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีอะไรบ้าง ที่คุณควรเพิ่มไว้ในรถของคุณ

388 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Check List ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีอะไรบ้าง ที่คุณควรเพิ่มไว้ในรถของคุณ

รู้ก่อนว่า ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีอะไรบ้าง
สำหรับสิ่งที่ “จำเป็น” ต้องใส่ลงไปในชุดปฐมพยาบาล ประกอบด้วยอุปกรณ์ทำแผลและยารักษาโรคเบื้องต้น ดังนี้

-ยางล้างแผล ยาฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์
-ผ้าทำแผลขนาดต่าง ๆ
-ถุงมือ สำหรับป้องกันไม่ให้มือสัมผัสถูกเลือด หรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ
-เทปปิดแผล
-กรรไกร สำหรับตัดผ้าทำแผล (ผ้าก็อซ) หรือตัดเสื้อผ้ากรณีเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
-ผ้าปิดตา สำหรับกรณีได้รับบาดเจ็บที่นัยน์ตา เช่น ฝุ่นละอองเข้าตา กระจกตาถูกบาด
*ผ้ายืด (อีลาสติกแบนเอด) สำหรับพันเมื่อเกิดอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ ข้อ ลดการเคลื่อนไหว หรือใช้พันยึดกับอุปกรณ์*อื่น ๆ เพื่อดามกระดูก
*ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน และเข็มกลัดสำหรับติดผ้าสามเหลี่ยม
ลำสี/ไม้พันสำลี สำหรับทายาล้างแผลรอบ ๆ บริเวณแผล
พลาสเตอร์เทปปิดแผลขนาดต่าง ๆ สำหรับปิดแผลหลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว
ถุงพลาสติก สำหรับใส่เศษขยะ จำพวกผ้าเปื้อนเลือด เป็นต้น
ในส่วนของ “ยาฉุกเฉินสำหรับรับประทาน” แนะนำให้ใส่ในกล่องยาที่ปิดมิดชิด พร้อมกับระบุข้อความข้างกล่องอย่างชัดเจน ซึ่งควรจะมีแค่ยาที่จำเป็นเท่านั้น เช่น ยาแก้ปวด ลดไข้ หรือเกลือแร่
ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น พกพา ในรถ จำเป็นแค่ไหน ?
“ชุดปฐมพยาบาล” ตามบทบัญญัติของกฎหมายจราจรและกฎข้อบังคับ กำหนดเอาไว้ว่ารถยนต์ทุกคันจำเป็นจะต้องมีชุดปฐมพยาบาลเสมอ พร้อมกับอุปกรณ์และยาต่าง ๆ ควรถูกจัดเก็บไว้ในกระเป๋าให้เรียบร้อยอยู่เสมอ เนื่องจากกระเป๋าใบนี้ จะช่วย “ลดความเสียหาย” จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

สำหรับการหาซื้อชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าชั้นนำ หรือร้านขายยาทั่วไป แนะนำให้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน ไม่เห็นแก่ราคาที่ถูกมากจนเกินไป เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต
การปฐมพยาบาลผู้ประสบอุบัติเหตุ
กรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ภาวะฉุกเฉิน และคุณเองจำเป็นจะต้องปฐมพยาบาลให้กับผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ กรณีที่ประเมินแล้วว่าสามารถเข้าช่วยเหลือได้ ควรทำอย่างระมัดระวังและเหมาะสม เนื่องจากผู้ได้รับบาดเจ็บอาจมีภาวะกระดูกหักหรือร้าว หากไม่แน่ใจ ไม่แนะนำให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยพลการ เพราะอาจจะส่งผลร้ายแรงมากกว่าเดิม โดยแบ่งออกเป็นกรณีต่าง ๆ ดังนี้

1. กรณีกระดูกหักหรือข้อต่อหลุด
แนะนำให้หาอุปกรณ์แข็ง ๆ มาทำการเข้าเฝือกชั่วคราว เพื่อไม่ให้แผลเคลื่อน จนเป็นเหตุที่ทำให้ได้รับบาดเจ็บมากกว่าเดิม
2. กรณีที่มีเลือดออกค่อนข้างมาก
ควรหาผ้าสะอาดมาปิดปากแผลเอาไว้ก่อน จากนั้นค่อย ๆ หาสายยางหรือผ้าอีกชิ้นมารัดแน่น ๆ เหนือปากแผล เพื่อห้ามเลือด
3. กรณีหัวใจหยุดเต้น
ให้วางผู้ประสบเหตุนอนราบลงกับพื้น พร้อมกับปั๊มหัวใจ โดยวางมือบริเวณกลางอก ใต้ลิ้นปี่ หลังจากนั้นกดสลับปล่อย ประมาณ 30 ครั้ง หากไม่ได้ผลให้ทำการเป่าปากช่วย ทำต่อเนื่องจนกว่าผู้ประสบเหตุจะรู้สึกตัว
แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่พบว่าผู้ประสบเหตุได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง ให้ดำเนินการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้การช่วยเหลือทันที ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์นเรนทร 1669, สถานีวิทยุ จส.100 1808, สถานีวิทยุ สวพ.91 1644, สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน 1677 และศูนย์รับเรื่องร้องเรียนทุกชนิด 191
แนวทางปฏิบัติหากต้องขับรถทางไกล

ในช่วงวันหยุดยาวหลายคนมักเลือกเดินทางไปต่างจังหวัดด้วยรถยนต์ส่วนตัว เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและความคล่องตัวตลอดการเดินทาง แต่ถึงอย่างนั้นต้องเตรียมความพร้อมในหลาย ๆ ด้านไม่เพียงแต่เรื่องชุดปฐมพยาบาล โดยแนวทางปฏิบัติก็มีรายละเอียดดังนี้

1. วางแผนการเดินทาง
ไม่ว่าคุณจะต้องการเดินทางไปที่จังหวัดไหนก็ตาม ควรศึกษาเส้นทางที่จะไป พร้อมกับเลือกเส้นทางที่ขับขี่ปลอดภัย นอกจากนี้ยังควรเดินทางในช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากมีความเสี่ยงค่อนข้างน้อย ที่สำคัญอย่าลืม “เผื่อเวลา” ในการเดินทางอย่างเหมาะสมด้วย
2. กำหนดจุดพักขับรถ
ไม่ว่าจะจอดพักเข้าห้องน้ำ ดื่มกาแฟ หรือทานข้าว ควรกำหนดเอาไว้ทุก ๆ 200 กิโลเมตร หรือทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่ รวมถึงลดอุณหภูมิของยาง ตรวจสอบสภาพรถ ด้วยการเดินรอบ ๆ เพื่อหาสิ่งผิดปกติ ไม่แนะนำให้ดับเครื่องในทันที ควรปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบา ประมาณ 5 นาที ก่อนดับจะดีที่สุด
3. รู้จักสังเกต
ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ แน่นอนว่าจะต้องมีของมึนเมาเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ดังนั้นควรรู้จักสังเกตพฤติกรรมของรถคันอื่น ๆ ให้ดี ว่ามีการขับรถที่ผิดปกติหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการไปมีส่วนร่วมที่จะเกิดอุบัติเหตุ

สอบถามเพื่มเติมได้ที่  
โทรเข้า Call Center คุณวุ้น : 085-389-785


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้